วันจันทร์ที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

10.เรื่องทรงผมนักเรียน

เรื่องทรงผมนักเรียน เราติดอยู่ในกรอบนานเกินไปหรือเปล่า?


นี่คือความคิดเห็นคร่าวๆของวัยรุ่นในปัจจุบัน ลองเข้าไปกดติดตามกันได้ >> ที่นี่


เราเชื่อกันมาตลอดว่า การให้เด็กตัดผมเกรียน ทรงนักเรียน เป็นการฝึกให้เด็กอยู่ในระเบียบวินัย

แต่ถามว่าที่ผ่านมาได้ผลหรือเปล่า?

ในขณะที่นักเรียนฝรั่งหรือญี่ปุ่นไม่ต้องไว้ผมเกรียน แต่ถามว่าเมื่อเติบโตมาเป็นผู้ใหญ่แล้ว ใครมีระเบียบวินัยมากกว่ากัน? คนไทยหรือคนญี่ปุ่น หรือฝรั่ง?

เป็นกรอบที่เราหลงติดอยู่ แต่เราก็เห็นกันอยู่ว่าสิ่งที่เราทำกันมาหลายสิบปีนั้น ไม่ได้ผลเลย ทุกวันนี้ คนไทยได้ชื่อว่า "ทำอะไรตามใจ คือไทยแท้" นึกอยากจะแซงคิว แย่งกันขึ้นรถ ขึ้นลิฟต์ ทิ้งขยะไม่เลือกที่ ขับรถปาดหน้า รถช้าวิ่งแช่อยู่เลนขวาสุด มอเตอร์ไซค์วิ่งสวนเลน ข้ามถนนใต้สะพานลอย ฯลฯ

ทั้งที่พวกคนเหล่านี้ ก็เคยไว้ทรงผมเกรียนกันมาแล้วทั้งนั้น!

ทำไมเราไม่เปลี่ยนวิธีคิดให้ออกนอกกรอบ

บางคนบอกว่า ให้เด็กนักเรียนไว้ทรงผมเกรียน ก็ดูน่ารักดี 

เอ่อ เรากำลังเห็นเด็กเป็นสัตว์เลี้ยงที่เราจะจับตัดแต่งขนให้เป็นไปตามใจเราชอบหรือครับ? 

9.เเรงจูงใจกับการเเต่งกายผิดระเบียบของนักเรียน

เเรงจูงใจกับการเเต่งกายผิดระเบียบของนักเรียน

1.แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ (Achievement Motive) หมายถึง แรงจูงใจที่เป็นแรงขับให้บุคคลพยายามที่จะประกอบพฤติกรรมที่จะประสบสัมฤทธิผลตามมาตรฐานความเป็นเลิศ (Standard of Excellence) ที่ตนตั้งไว้ บุคคลที่มีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์จะไม่ทำงานเพราะหวังรางวัล
แต่ทำเพื่อจะประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ ผู้มีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์จะมีลักษณะสำคัญ ดังนี้
      1. มุ่งหาความสำเร็จ (Hope of Success) และกลัวความล้มเหลว (Fear of Failure)
      2. มีความทะเยอทะยานสูง
      3. ตั้งเป้าหมายสูง
      4. มีความรับผิดชอบในการงานดี
      5. มีความอดทนในการทำงาน
      6. รู้ความสามารถที่แท้จริงของตนเอง
      7. เป็นผู้ที่ทำงานอย่างมีการวางแผน
      8. เป็นผู้ที่ตั้งระดับความคาดหวังไว
2.แรงจูงใจใฝ่สัมพันธ์ (Affiliative Motive)ผู้ที่มีแรงจูงใจใฝ่สัมพันธ์ มักจะเป็นผู้ที่โอบอ้อมอารี เป็นที่รักของเพื่อน มีลักษณะเห็นใจผู้อื่น ซึ่งเมื่อศึกษาจากสภาพครอบครัวแล้วผู้ที่มีแรงจูงใจใฝ่สัมพันธ์มักจะเป็นครอบครัวที่อบอุ่น บรรยากาศในบ้านปราศจาก การแข่งขัน พ่อแม่ไม่มีลักษณะข่มขู่ พี่น้องมีความรักสามัคคีกันดี ผู้มีแรงจูงใจใฝ่สัมพันธ์จะมีลักษณะสำคัญ ดังนี้ 
       1. เมื่อทำสิ่งใด เป้าหมายก็เพื่อได้รับการยอมรับจากกลุ่ม
       2. ไม่มีความทะเยอทะยาน มีความเกรงใจสูง ไม่กล้าแสดงออก
       3. ตั้งเป้าหมายต่ำ
       4. หลีกเลี่ยงการโต้แย้งมักจะคล้อยตามผู้อื่น
   3. แรงจูงใจใฝ่อำนาจ (Power Motive) สำหรับผู้ที่มีแรงจูงใจใฝ่อำนาจนั้น พบว่า ผู้ที่มีแรงจูงใจแบบนี้ส่วนมากมักจะพัฒนามาจากความรู้สึกว่า ตนเอง "ขาด" ในบางสิ่งบางอย่างที่ต้องการ อาจจะเป็นเรื่องใดเรื่องหนึ่งก็ได้ทำให้เกิดมีความรู้สึกเป็น "ปมด้อย" เมื่อมีปมด้วยจึงพยายามสร้าง "ปมเด่น" ขึ้นมาเพื่อชดเชยกับสิ่งที่ตนเองขาด ผู้มีแรงจูงใจใฝ่อำนาจจะมีลักษณะสำคัญ ดังนี้ 
       1. ชอบมีอำนาจเหนือผู้อื่น ซึ่งบางครั้งอาจจะออกมาในลักษณะการก้าวร้าว
       2. มักจะต่อต้านสังคม
       3. แสวงหาชื่อเสียง
       4. ชอบเสี่ยง ทั้งในด้านของการทำงาน ร่างกาย และอุปสรรคต่าง ๆ
       5. ชอบเป็นผู้นำ
 4.แรงจูงใจใฝ่ก้าวร้าว (AggressionMotive)ผู้ที่มีลักษณะแรงจูงใจแบบนี้มักเป็นผู้ที่ได้รับการเลี้ยงดูแบบเข้มงวดมากเกินไป บางครั้งพ่อแม่อาจจะใช้วิธีการลงโทษที่รุนแรงเกินไป ดังนั้นเด็กจึงหาทางระบายออกกับผู้อื่น หรืออาจจะเนื่องมาจากการเลียนแบบ บุคคลหรือจากสื่อต่าง ๆ ผู้มีแรงจูงใจใฝ่ก้าวร้าว จะมีลักษณะที่สำคัญดังนี้ 
       1. ถือความคิดเห็นหรือความสำคัญของตนเป็นใหญ่
       2. ชอบทำร้ายผู้อื่น ทั้งการทำร้ายด้วยกายหรือวาจา
5. แรงจูงใจใฝ่พึ่งพา (DependencyMotive)สาเหตุของการมีแรงจูงใจแบบนี้ก็เพราะการเลี้ยงดูที่พ่อแม่ทะนุถนอมมากเกินไป ไม่เปิดโอกาสให้เด็กได้ช่วยเหลือตนเอง ผู้ที่มีแรงจูงใจใฝ่ พึ่งพา จะมีลักษณะสำคัญ ดังนี้ 
      1. ไม่มั่นใจในตนเอง
      2. ไม่กล้าตัดสินใจในเรื่องต่าง ๆ ด้วยตนเอง มักจะลังเล
      3. ไม่กล้าเสี่ยง
      4. ต้องการความช่วยเหลือและกำลังใจจากผู้อื่น

8.องค์ประกอบทางด้านความคิดกับการเเต่งกายผิดระเบียบของนักเรียน

8.องค์ประกอบทางด้านความคิดกับการเเต่งกายผิดระเบียบของนักเรียน

องค์ประกอบทางด้านความคิด (Cognitive Factor)
ประเภทของแรงจูงใจ
นักจิตวิทยาได้แบ่งลักษณะของแรงจูงใจออกเป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้ดังนี้
กลุ่มที่1 แรงจูงใจฉับพลัน (Aroused Motive) คือแรงจูงใจที่กระตุ้นให้มนุษย์แสดงพฤติกรรม ออกมาทันทีทันใด แรงจูงใจสะสม (Motivational Disposition หรือ Latent Motive) คือแรงจูงใจที่มีอยู่แต่ไม่ได้แสดงออกทันที จะค่อย ๆ เก็บสะสมไว้รอการแสดงออกในเวลา ใดเวลาหนึ่งต่อ
กลุ่มที่ 2 แรงจูงใจภายใน (Intrinsic Motive) คือแรงจูงใจที่ได้รับอิทธิพลมาจากสิ่งเร้าภายในตัวของบุคคลผู้นั้น
แรงจูงใจภายนอก (Extrinsic Motive) คือแรงจูงใจที่ได้รับอิทธิพลมาจากสิ่งเร้าภายนอก
กลุ่มที่ 3 แรงจูงใจปฐมภูมิ (Primary Motive) คือแรงจูงใจอันเนื่องมาจากความต้องการที่เห็นพื้นฐานทางร่างกาย เช่น ความหิว, กระหาย แรงจูงใจทุติยภูมิ (Secondary Motive) คือแรงจูงใจที่เป็นผลต่อเนื่องมาจากแรงจูงใจขั้นปฐมภูมิ
แรงจูงใจภายในและภายนอก (Intrinsic and Extrinsic Motivation) นักจิตวิทยาหลายท่านไม่เห็นด้วยกับทฤษฎีพฤติกรรมนิยมที่อธิบายพฤติกรรมด้วยแรงจูงใจทางสรีระแลแรงจูงใจ ทางจิตวิทยาโดยใช้ทฤษฎีการลดแรงขับ เพราะมีความเชื่อว่า พฤติกรรมบางอย่างของมนุษย์เกิดจากแรงจูงใจภายใน
แรงจูงใจภายใน หมายถึง แรงจูงใจที่มาจากภายในตัวบุคคล และเป็นแรงขับที่ทำให้บุคคลนั้นแสดงพฤติกรรมโดยไม่หวังรางวัลหรือแรงเสริมภายนอก
ความมีสมรรถภาพ (Competence) ไวท์ ได้อธิบายว่าความมีสมรรถภาพเป็นแรงจูงใจภายใน ซึ่งหมายถึงความต้องการที่จะมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไวท์ถือว่า มนุษย์เราต้องการปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมมาตั้งแต่วัยทารกและพยายามที่จะปรับปรุงตัวอยู่เสมอความต้องการมีสมรรถภาพจึงเป็นแรงจูงใจภายใน
ความอยากรู้อยากเห็น (Curiosity) ความอยากรู้อยากเห็นเป็นแรงจูงใจภายในที่ทำให้เกิดพฤติกรรมที่อยากค้นคว้าสำรวจสิ่งแวดล้อม ดังจะเห็นได้จากเด็กวัย 2-3 ขวบจะมีพฤติกรรมที่ต้องการจะสำรวจสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ ตัว โดยไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย
แรงจูงใจภายนอก หมายถึง แรงจูงใจที่มาจากภายนอก เป็นต้นว่าคำชมหรือรางวัล
มอว์และมอว์ (MAW&MAW,1964) ได้เสนอแนะเครื่องชี้ (Indicators) ของความกระตือรือร้นของเด็กจากพฤติกรรมต่อไปนี้
      1.เด็กจะมีปฏิกิริยาบวกต่อสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะสิ่งที่ใหม่ แปลกและตีกลับคือมีการเคลื่อนไหว หาสิ่งเหล่านั้น
     2. เด็กแสดงความอยากรู้เกี่ยวกับตนเองและสิ่งแวดล้อม
     3. เด็กจะเสาะแสวงหาประสบการณ์ใหม่ ๆ โดยสำรวจสิ่งแวดล้อมรอบตัว
     4. เด็ก จะแสดงความเพียรพยายามอย่างไม่ท้อถอยในการสำรวจค้นพบสิ่งแวดล้อม
มอว์และมอว์ (Maw and Maw, 1964, 1965) ได้เน้นความสำคัญของความกระตือรือร้นว่าเป็นองค์ประกอบสำคัญของการเรียนรู้ ความคิดสร้างสรรค์ และสุขภาพจิต ความต้องการพัฒนาตน (Growth Needs) ก็เป็นความต้องการที่ทำให้เกิดแรงจูงใจภายใน ในการเรียนการสอน ครูมีหน้าที่ที่จะสนับสนุนให้นักเรียนได้มีโอกาสค้นคว้าสำรวจและทดลองความสามารถของตน โดยจัดสิ่งแวดล้อมของห้องเรียนหรือจัดประสบการณ์ที่ท้าทายความอยากรู้อยากเห็นของนักเรียน
รูปแบบของแรงจูงใจ
บุคคลแต่ละคนมีรูปแบบแรงจูงใจที่แตกต่างกัน ซึงนักจิตวิทยาได้แบ่งรูปแบบ แรงจูงใจของมนุษย์ออกเป็นหลายรูปแบบที่สำคัญ มีดังนี้

7.ถุงเท้าสั้นผิดกฎโรงเรียน

ถุงเท้าสั้นผิดกฎโรงเรียน ? แล้วยึดถุงเท้าผิดไหม?



โดยมีเนื้อหาข้างต้นคือ 
"อยากทราบว่า การที่คอยจับผิดว่าใส่ถุงเท้าสั้น พับถุงเท้า(นร.ชาย) มันผิดมากไหมครับม กับการที่ยึดถุงเท้าไปให้เดินเท้าเปล่ากับรองเท้าผ้าใบ ? แล้วมันล่วยให้ความรู้ในสมองของนักเรียนลดถอยลง? "

6.ความสำคัญในการแต่งกายผิดระเบียบของนักเรียน

ความสำคัญในการแต่งกายผิดระเบียบของนักเรียน



ความสำคัญของปัญหา

เนื่องจากความปัจจุบันของสังคมไทยนั้นเกิดการเปลี่ยนแปลงทางด้านสังคม ความคิดและวิถีชีวิตที่แตกต่างจากเดิม จากผลของบริวารและสภาพแวดล้อมและด้วยที่เทคโนโลยีที่พัฒนาขยายอย่างรวดเร็ว ด้วยการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นนั้นก้าวเข้าสู่ความทันสมัย นอกจากจะนำไปสู่สภาพของสังคม เศรษฐกิจและการเมืองที่เปลี่ยนไปแล้วก็คือ เรื่องค่านิยมที่ผสมผสานและได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมตะวันตก ประกอบกับระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมเสรี และสภาวะของโลกาวิวัฒน์ ที่ได้นำไปสู่กะแสของการบริโภคนิยม ที่ทำให้คนในสังคมแบบสมัยใหม่มีความฟุ้มเฟ้อในเรื่องของวัตถุ เงินทองและสิ่งต่างๆ อันเกิดจากค่านิยมเสรี และการเปิดรับวัฒนธรรมตะวันตกที่ทำให้คนในสังคมมีความปรารถนาและความต้องการในเรื่องของสิทธิและเสรีภาพของทรัพย์สิน ร่างกายและชีวิตมากขึ้น และสิ่งเหล่านี้เองก็ก็ได้นำมาสู่การเปลี่ยนแปลงในวิถีชีวิตของและพฤติกรรมทางสังคมองคนไทย โดยเฉพาะคนไทยรุ่นใหม่ที่เติมโตขึ้นมาในช่วงยุคของโลกาวิวัฒน์หรือยุคสมัยใหม่ และได้รับอิทธิพลกระแสของวัฒนธรรมตะวันตก การบริโภคนิยม ผ่านสภาพแวดล้อมทางสังคม ลักษณะของครอบครัวที่เปลี่ยนไปจากอดีต รวมทั้งอิทธิพลจากสื่อและเทคโนโลยี สารสนเทศสมัยใหม่ ที่ส่งผลกระทบต่อพฤติกรรมของคนยุคใหม่หรือวัยรุ่น ทำให้พฤติกรรมบางประการของคนยุคใหม่หรือวัยรุ่นยุคใหม่ในสังคมไทยไม่ได้เป็นไปตามแนวทางของคุณค่าและจริยธรรมที่สังคมเดิมของตนกำหนดค่านิยมได้เปลี่ยนไป ตามกระแสของการบริโภคนิยม และสังคมในยุคสมัยโลกกาวิวัฒน์ส่งผลให้สภาพสังคมไทยได้เปลี่ยนไปจากเดิมมาก

5.ผลกระทบที่เกิดจากปัญหาการแต่งกายไม่เหมาะสมของนักเรียนนักศึกษา

ผลกระทบที่เกิดจากปัญหาการแต่งกายไม่เหมาะสมของนักเรียนนักศึกษา

ผลกระทบที่เกิดจากปัญหาการแต่งกายไม่เหมาะสมของนักเรียนนักศึกษา 




         1.แฟชั่น ชุดนักศึกษายุคใหม่ที่เน้นตามกระแสแฟชั่นได้รับความนิยมสูง ขายดีทั้งชุดของผู้ชายและผู้หญิงเพราะราคาถูก ดูทันสมัย แต่ความจริงแล้วการแต่งกายเสื้อผ้าเล็กเกินไป นอกจากจะดูไม่งามแล้ว ยังส่งผลกระทบต่อสุขภาพอีกด้วย
         2.ปัญหาอาชญากรรม การถูกล่วงละเมินทางเพศ การข่มขืน การถูกล่อล่วงไปกระทำอนาจารส่งผลต่อวัฒนธรรมการแต่งกายที่ดีงามของนักศึกษา ที่เป็นปัญญาชนกลับถูกมองในด้านลบเสื่อมเสียไปถึงสถาบันที่ศึกษา
         3.เป็นการตามกระแสนิยมที่ผิดๆ เป็นกระแสนิยมที่ทำให้เกิดการเลียนแบบการแต่งกายของเด็กตามผู้ใหญ่ ทำให้สิ้นเปลื้องเงินของผู้ปกครองโดยใช่เหตุและยังเป็นการปลูกฝังค่านิยมแก่คนรุ่นน้องที่ผิดๆ

4.ทฤษฎีพฤติกรรมนิยมกับการเเต่งกายผิดระเบียบของนักเรียน

ทฤษฎีพฤติกรรมนิยมกับการเเต่งกายผิดระเบียบของนักเรียน

ทฤษฎีพฤติกรรมนิยม (Behavioral View of Motivation)

ทฤษฎี นี้ ให้ความสำคัญกับประสบการณ์ในอดีต (Past Experience) ว่ามีผลต่อแรงจูงใจของบุคคลเป็นอย่างมาก ดังนั้นทุกพฤติกรรมของมนุษย์ถ้าวิเคราะห์ดูแล้วจะเห็นว่าได้รับอิทธิพลที่เป็นแรงจูงใจมาจากประสบการณ์ใน อดีตเป็นส่วนมาก โดยประสบการณ์ในด้านดีและกลายเป็นแรงจูงใจทางบวกที่ส่งผลเร้าให้มนุษย์มีความต้อง การแสดงพฤติกรรมในทิศทางนั้นมากยิ่งขึ้นทฤษฎีนี้เน้นความสำคัญของสิ่งเร้าภายนอก (Extrinsic Motivation)
ทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคม (Social Learning View ofMotivation)
ทฤษฎีนี้เห็นว่าแรงจูงใจเกิดจากการเรียนรู้ทางสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสร้างเอกลักษณ์และการเลียนแบบ (Identification and Imitation) จากบุคคลที่ตนเองชื่นชม หรือคนที่มีชื่อเสียงในสังคมจะเป็นแรงจูงใจที่สำคัญในการแสดงพฤติกรรมของบุคคล  ทฤษฎีพุทธินิยม (Cognitive View of Motivation)

ทฤษฎีนี้เห็นว่าแรงจูงใจในการกระทำพฤติกรรมของมนุษย์นั้นขึ้นอยู่กับการรับรู้ (Perceive) สิ่งต่าง ๆ ที่อยู่รอบตัว โดยอาศัยความสามารถทางปัญญาเป็นสำคัญ มนุษย์จะได้รับแรงผลักดันจากหลาย ๆ ทางในการแสดงพฤติกรรม ซึ่งในสภาพเช่นนี้ มนุษย์จะเกิดสภาพความไม่สมดุล (Disequilibrium) ขึ้น เมื่อเกิดสภาพเช่นว่านี้มนุษย์จะต้อง อาศัยขบวนการดูดซึม (Assimilation) และการปรับ (Accomodation) ความแตกต่างของประสบการณ์ที่ได้รับใหม่ให้ เข้ากับประสบการณ์เดิมของตนซึ่งการจะทำได้จะต้องอาศัยสติปัญญาเป็นพื้นฐานที่สำคัญทฤษฎีนี้เน้นเรื่องแรงจูง ใจภายใน(intrinsic Motivation) นอกจากนั้นทฤษฎีนี้ยังให้ความสำคัญกับเป้าหมาย วัตถุประสงค์ และการวางแผน ทฤษฎีนี้ให้ความสำคัญกับระดับของความคาดหวัง (Level ofAspiration) โดยที่เขากล่าวว่าคนเรามีแนวโน้มที่จะตั้ง ความคาดหวังของตนเองให้สูงขึ้น เมื่อเขาทำงานหนึ่งสำเร็จ และตรงกัน ข้ามคือจะตั้งความคาดหวังของตนเองต่ำลง เมื่อเขาทำงานหนึ่งแล้วล้มเหลว